วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ


ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล Data หมายถึง ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมีลักษณะหลายอย่างผสมเข้ากัน เช่น บันทึกข้อความ รายงานการประชุม เป็นต้น

































สารสนเทศ information หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลแล้วถูกต้องแม่นยำตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น การหาค่าเฉลี่ยอุณหภูมินำไปหาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ



ลักษณะของข้อมูลที่ดี
 ข้อมูลมีคุณภาพ สมบูรณ์เหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เช่น ชื่อที่อยู่คะแนนนักเรียน เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ลักษณะที่ควรมีคือ มีความถูกต้องแม่นยำ มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ความสอดคล้องของข้อมูล

                                                  


ชนิดและลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผมมี2ชนิด

1 ข้อมูลที่เป็นตัวเลข numeric data คือข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนสามารถนำไปคำนวณได้มี2รูปแบบ คือ
-เลขจำนวนเต็ม เลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 1 5 87 90765 -4565 -212350526  เป็นต้น
-เลขทศนิยม ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม เช่น 5769.75  98.09  -6543.0098 -99000.009 เป็นต้น
เลขทศนิยมเขียนได้2แบบ
แบบที่ใช้ทั่วไป เช่น 7.0  443.874  -231.86 เป็นต้น
แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาตร์ เช่น  231 x 10ยกกำลัง4 

2 ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ character data
คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้ เช่น ICT  computer internet เป็นต้น

ประเภทของข้อมูล

ข้อมูลสามารถแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นกับว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง เช่น
ก.แบ่งตามแหล่งที่มา ได้เป็น 2 ประเภท
1.ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary Data)คือข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่ผู้เก็บข้อมูลลงมือเก็บด้วยตนเองได้มา จากแหล่งกำเนิดที่แท้จริง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบหรือการวัดจากกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
2.ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดที่ผู้อื่นรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเป็นข้อมูล โดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น ข้อมูลจากระเบียนสะสม รายงานประจำปี สารานุกรม เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น


กระบวนการจัดการสารสนเทศ
   การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาข้อมูลเพื่อการใช้งาน
 การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
 (1) การรวบรวมข้อมูล ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านแผงแป้นอักขระ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การกราดตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่างๆ 
 (2) การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ
ข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบต้องมีความน่าเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลอาจตรวจสอบโดยสายตามนุษย์หรือตั้งกฏเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ
การประมวลผลข้อมูล
     การประมวลผลข้อมูลอาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
      (1) การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่เก็บอาจมีการจัดกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแจกแจงหรือแบ่งกลุ่มประวัตินักเรียน ตานระดับชั้นเรียน ข้อมูลในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีการจัดกลุ่มเลขหมายโทรศัพท์ตามชนิดสินค้าและบริการ
      (2) การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรืออักขระ เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่าย ประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ตามลำดับตัวอักษร
      (3) การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสรุปเป็นรายงาน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปนี้จะสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
 
การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล
 (1) การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
 (2) การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อเก็บรักษาข้อมูล หรือนำไปแจกจ่าย จึงควรคำนึงถึงความจุและความทนทานของสื่อบันทึกข้อมูล

การแสดงผลข้อมูล
การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัยและมีบทบาทมากหากได้รับข้อมูลที่รวดเร็วผู้ใช้ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

การปรับปรุงข้อมูล
หลังจากเผยแพร่ข้อมูลไปแล้วก็ควรติดตามผลตอบกลับเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ทัน

ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

1.ระบบเลขฐานสอง
 คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สัญญาณทางไฟฟ้าแทนตัวเลขศูนย์และหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง แต่ละหลักเรียกว่าบิต (binary digit : bit) และเมื่อนำตัวเลขหลายๆ บิตมาเรียงกัน จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวน อักขระหรือสัญลักษณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ 

2.รหัสแทนข้อมูล
เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้น โดยรหัสมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากมีสองกลุ่ม คือ รหัสแอสกีและรหัสยูนิโค้ด

1) รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange :ASCII) เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล รหัสแทนข้อมูลชนิดนี้ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิตหรือเท่ากับ 1 ไบต์แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่ง หมายความว่าการแทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน


(2) รหัสยูนิโค้ด (Unicode)
เป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆ รหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก 2ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือใช้เลขฐานสอง 16บิตในการแทนตัวอักษร เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสชนิดนี้ คือ เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษร (font)ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก ในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่เรียกว่าภาษารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปแบบที่ได้อธิบายมาข้างต้น ซึ่งไม่สามารถแทนตัวอักษรได้ครบ จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง 65,536ตัว ซึ่งมากพอและสามารถแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีก

การจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
เป็นการเก็บข้อมูลไว้ใน สื่อบันทึก เช่น เทปแม่เหล็ก แผ่นบันทึก หรือจานแม่เหล็ก โดยที่ข้อมูลนั้นอยู่ในรูปของเลขฐานสองหลายบิตเรียงกัน ดังนั้นในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลจึงต้องกำหนด รูปแบบหรือโครงสร้างของข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ตรงกัน โดยโครงสร้างของข้อมูลจะประกอบด้วย 6 ลำดับ ดังนี้
(1) บิต ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้วว่าบิตคือตัวเลขโดดในระบบเลขฐานสอง ซึ่งมีค่าได้เพียง 0 หรือ 1 บิตเป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ (2) ตัวอักขระ (character) หมายถึงตัวอักขระแต่ละตัว ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษรหรือเครื่องหมายใด ๆ การแทนตัวอักขระแต่ละตัวในคอมพิวเตอร์ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งเราเรียกอีกอย่างว่าไบต์
(3) เขตข้อมูล (field) หมายถึงหน่วยข้อมูลหน่วยหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง เขตข้อมูลแต่ละเขตประกอบด้วยตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
(4) ระเบียนข้อมูล (record) หมายถึงกลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ระเบียนข้อมูลประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่หนึ่งเขตขึ้นไป
(5) แฟ้มข้อมูล (file) หมายถึงกลุ่มของระเบียนข้อมูลแบบเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยระเบียนข้อมูลตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
(6) ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกันซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน


 




จริยธรรมในการใช้ข้อมูล

1) ความเป็นส่วนตัว privacy
ก่อนเเผยแพร่ข้อมูลต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวสูง เช่นหมายเลขบัตร  ATM 





2)ความถูกต้อง accuracy 
ก่อนเผยแพร่ข้อมูลควรตรวจสอบให้ถูกต้องก่อน

3)ความเป็นเจ้าของ property การละเมิดลิขสิทธิ์ืทำให้เกิดความเสียหายทางธุระกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้ควรระมัดระวังในการนำมาใช้

4) การเข้าถึงข้อมูล accessibility การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับผู้ใช้ เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล



วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



วามหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยคำ3คำคือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ" และ การสื่อสาร

เทคโนโลยี (Technology)
คือการนำความรู้มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ แม้กระทั้งสิ้งที่จับต้องไม่ได้ เช่นกระบวยการต่างๆโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยในการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆแก่บุคคลหรือองค์กร


สารสนเทศ(Information)
ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ

การสื่อสาร (Communication)
คือการส่งข้อมูลข่าวสารอาศัยสื่อเป็นตัวกลางจากบุคคลหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกคนหรือสถานที่หนึ่ง
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฎิกิริยาตอบสนองให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการ




เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information technology หรือ IT ) 

มาจากคำว่า"เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ" เชื่อมต่อกัน หมายถึงการนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทสอย่างเป็นระบบและก่อให้เกิดประโยขน์ในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆให้แก่บุคคลหรือองค์กร


 เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร (Information 

and Communication Technology : ICT ) 

 

คือการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับ  

เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อ ผลิต

เผยแพร่และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆไม่

ว่าจะเป็น ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง

เป็นต้น



ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information system)  เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย5ส่วนสำคัญคือ



1 ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )

ป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ เป็นส่วนที่ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น




ไมโครโปรเซสเซอร์   




 หน่วยความจำ  





 อุปกรณ์เก็บข้อมูล   



  อุปกรณ์รับข้อมูล    



อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล



2.ซอฟต์แวร์(softweare)

คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น ms-dos, ms-windows, word เป็นต้น แบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ๆคือ

-ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) 

เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟแวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเริ่มทำงานต่างๆได้ ตัวอย่างเช่น ดอส,วินโดวส์,ลินุกซ์,แมคโอเอส เป็นต้น

-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 

ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้านต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)  จะมีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมสำหรับการซื้อขาย มีประโยชน์กับร้านค้า หรือโปรแกรมสำหรับฝากถอนเงิน  ก็จะมีประโยชน์กับองค์กรเกี่ยวกับการเงิน เช่น ธนาคาร  
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย  ทำให้ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เช่นMicrosoft Word,  Microsoft Excel, Microsoft  PowerPoint, Photoshop และ Oracle เป็นต้น

ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) สำหรับงานทั่วไป 



3.ข้อมูล (Data) 


คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่ได้จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ 

หรือทุติยภูมิ แล้วนำมาจัดเป็นระบบเพื่อป้อนเข้าสู่

ระบบคอมพิวเตอร์ ให้ทำการประมวลผลเป็น

ผลลัพธ์ออกมา เช่น ชื่อ-สกุล ผู้ตอบแบบสอบถาม 

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ 

หรือเทคโนโลยีชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น




4 บุคลากร (people)

ในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์

ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบ

สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากร

มีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด 

โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบ

คอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้น

เท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคล

ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น 

ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเอง

และพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ 

สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มี

ความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขา

คอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน



5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) 


คือขั้นตอนการทำงาน หรือวิธีการในการนำเข้า การ

จัดเก็บ และการวิเคราะห์ของแต่ละหน่อยงานในการ

ปฏิบัติการส่วนของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งผู้

ใช้จะเป็นผู้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์จัดการกับ

ข้อมูล เพื่อให้ตอบสนองวัตถุประสงค์ของ

การทำงานในหน่วยงานนั้น













ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสาร

1.ด้านการศึกษา  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน  และระบบการจัดตารางสอน  นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนเช่นกาศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม  ทำให้ผู้ที่อยู่ห่าวไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง

2. ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล 


ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในสื่อ

บันทึกข้อมูลต่างๆเช่นแผ่นซีดีรอม,ดีวีดี

รอม,ฮาร์ดดิสก์ และสามารถนำกลับมาใช้ได้ตลอด

เวลา




3.ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม

การสื่อสารแบบไร้สายสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนในสังคมได้ความสะดวกและรวดเร็วเช่นการใช้โทรศัพท์,อินเทอร์เน็ตหรืออีเมลล์ เป้นต้น





4.ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น เช่นการวิจัยด้านนิวเคลียร์



5.ด้านความบันเทิง

เพลงและภาพยนตร์ ปัจจุบันผู้ใช้นิยมฟังเพลงและดูภาพยนตร์ผ่านทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสะดวก 
ประหยัด  ภาพและเสียงมีคุณภาพเทียบเท่ากับสื่ออื่น ๆ มีการให้บริการดาวน์โหลดเพลงและตัวอย่างภาพยนตร์ จากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  และคอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถสร้างภาพยนตร์แอนิเมชัน 
เกมคอมพิวเตอร์  มีการติดตั้งเกมไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นคนเดียวและการเล่นผ่านเครือข่าย 
คอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ซึ่งกำลังเป็นที่แพร่หลาย  เนื่องจากสามารถเล่นพร้อม ๆ กันได้หลายคน

และยังมีด้านสิ่งพิมพ์การเงินธนาคารด้านการแพทย์ด้านความมั่งคงด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เป้นต้น



แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวกและรวดเร็วขึ้น
-มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือค่ายอินเทอร์เน้ตเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม
-อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีขนาดกะทัดรัดและราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพและการใช้งานเพิ่มสุงขึ้น
-การวางแผน การคิดวิเคราห์และการตัดสินใจของมนุษณ์จะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
-การเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วทำให้มีช่องการดำเนินธุระกิจและกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
-หน่อยงานหรือองคืกรจะมีขนาดเล็กลงแต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น
       แนวโน้มด้านอื่นๆยังมีอีกมากเนื่องจากเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเยาวชนคนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อจะได้พัฒนาให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ในอนาคต




















ผลระทบจาการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


-อาจเกิดพฤติกรรมเรียนแบบและอาจจะก่อให้เกิดอาจญากรรมและความรุนแรง


-การแพร่ระบาดของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมมีจำนวนมากขึ้น อาทิ เว็บไซต์ลามกอนาจาร เว็บไซต์บริการทางเพศ เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนัน เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับยาเสพติดเว็บไซต์ที่ขายของผิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบอย่างทั่วถึงเป็นไปได้ยาก


-เว็บแคม (webcam) หรือ เว็บแคเมรา (web camera) เป็นกล้องที่ส่งสัญญาณภาพผ่านทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยที่แต่ละฝ่ายสามารถเห็นภาพกันและกันขณะพูดคุย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการประชุมออนไลน์ แต่ขณะเดียวกัน เว็บแคมก็เป็นสื่อที่ใช้ในการชมและถ่ายทอดกิจกรรมทางเพศ หรือแสดงลามกทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น


-อาชญากรคอมพิวเตอร์ เช่น แฮกเกอร์ (Hacker) บางคนที่พยายามหาวิธีการหรือช่องโหว่ของระบบ เพื่อแอบลักลอบเข้าสู่ระบบ เพื่อล้วงความลับหรือแอบดูข้อมูลข่าวสาร อาทิ ลักลอบใช้ข้อมูลบัตรเครดิต ลบรายชื่อผู้ใช้งานในระบบ และบางครั้งมีการทำลายข้อมูลข่าวสารหรือทำความเสียหายให้กับองค์กร


-การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปสร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ อาทิ รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายทำงานช้าลง ติดตั้งโปรแกรมที่เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์




















อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. นักเขียนโปรมแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (programmer)


           ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรมแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร

2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst)


           ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย

3. ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database administrator)


          ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล (database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้

4. ผู้ดูแลและบริหารระบบ(system administrator)


          ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฎิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ความคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย5. ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (network administrator)

           ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย
6. ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)


           ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

7. เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician)


           ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร

8. นักเขียนเกม (game maker)


          ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้การเขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย